วิชาโครงงานเทคดนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้(ง 40280)

ชื่อโครงงาน: การใช้คำในภาษาไทย
ผู้จัดทำ: นางสาว วรรณภา อินทร์กัณหา
ครูผู้สอน: อาจารย์ คเชนทร์ กองพิลา
คำถามของโครงงาน: การยืมคำในภาษาไทยจะต้องยืมแบบไหนมาใช้จงบอกมาโดยละเอียด
วัตถุประสงค์: ทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป

การใช้คำในภาษาไทย

การใช้คำในภาษาไทย

การใช้คําในภาษาไทย

ภาษาไทย

การใช้คำให้เหมาะสม การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเสียงและความหมาย การรู้ จักเลือกคำมาใช้ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

๑. การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ความหมายของคำ ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้คือ

๑.๑ คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย – ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตี ความเป็นอย่างอื่น – ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆ เป็นความ หมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม

๑.๒ คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมี ความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง ๑.๓ คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้ …ตัวอย่างคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน>>

๒. การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไวยากรณ์ หมายถึง หลักว่าด้วยรูป และระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่

– คำนาม

– คำสรรพนาม

– คำกริยา

– คำวิเศษณ์

– คำบุพบท

– คำสันธาน

– คำอุทาน

๓. การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำเนเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขีนยสะกดบกพร่องหรือผิดความาหมายก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภท ต่างๆ ดังนี้

– คำสมาส

– คำพ้องเสียง

– คำที่ใช้ ซ, ทร

– คำที่ใช้ ใ-, ไ- – คำที่ออกเสียง อะ

– การใช้วรรณยุกต์ – คำที่มีตัวการันต์

– คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

๔. การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน พยางค์หนึ่งๆ ในภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ …ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน>> การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ระดับของภาษาแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ ๓ ระดับคือ

๑. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียน เพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก

๒. ภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน

๓. ภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและ เขียนที่เป็นทางการ …ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับต่างๆ>> การใช้คำให้เหมาะสม ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

๑. การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ การใช้คำที่สุภาพหรือคำที่เหมาะสมกับบุคคลเป็น เรื่องที่คนไทยถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม …ตัวอย่าง>>

๒. การใช้คำให้เหมาะสมกับความรู้สึก คำบางคำในภาษาไทยจะแสดงความรู้สึกของผู้ใช้ภาษาได้ ว่ารู้สึกเช่นใด ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้เช่นกัน หวังว่า ท่านจะนำหลักการเหล่านี้ไปเป็นพื้นฐานในการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

ศิลปะ

วิทยาศาสตร์

พละศึกษา

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การงานอาชีพและเทคโนโลยี